วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้อง โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 แล้วมันมีประโยชน์อย่างไร ?

           



                  เนื่องจากการดำรงชีวิตของคนในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม    โดยรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา     ทำให้รูปแบบวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยหายไป      ชีวิตประจำวันที่แสนจะเร่งรีบ  รีบตื่น  รีบแต่งตัว    รีบไปทำงาน    ทุกอย่างดูรีบกันไปหมดทำให้โอกาสที่จะดูแลใส่ใจตัวเอง  และคนในครอบกลายเป็นเรื่องไกลตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง   ทำให้หลายต่อหลายคนต้องหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   เพื่อนำมาทดแทนสารอาหารที่ร่างกายขาดไป    กรดไขมันโอเมก้า 3 และ  กรดไขมันโอเมก้า 6  จึงเป็นอีกทางเลือกของหลายต่อหลายคน  แล้ว กรดไขมันโอเมก้า 3 และ กรดไขมันโอเมก้า 6  มีความสำคัญอย่างไร ?     

สังคมที่เร่งรีบ

  


                  จากกระแสที่มาแรงของกรดไขมันโอเมก้า 3      ทำให้เรารู้สึกคุ้นหูและตื่นตัวกับคำนี้มากขึ้น  กรดไขมันโอเมก้า 3      ถือได้ว่ามีความจำเป็น  และมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย  เช่น    สร้างผนังเซลล์ของร่างกาย   ไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด  เป็นต้น    แต่ในขณะเดียวกันจะมีกี่คนที่รู้ว่า       กรดไขมันโอเมก้า 6  ต้องมีควบคู่กันไปกับกรดไขมันโอเมก้า 3   ถือว่ามีความสำคัญไม่ต่างกัน  เพราะถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งอาจทำให้เสียสมดุลของร่างกายได้


กรดไขมันโอเมก้า 3 

 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับกรดไขมันโอเมก้า  3  หรือที่เราเรียกกั้นสั้นๆ ว่า                   " โอเมก้า  3  "

          กรดไขมันโอเมก้า 3  ( omega  3    หมายถึง   ตำแหน่งของ  carbon  atom   ในสายของกรดไขมันที่มีพันธะคู่   ซึ่งก็คือกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว  เป็นหนึ่งในกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย (  Essential  fatty  acid )  ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ )  กรดโอเมก้า 3 มีอยู่สามชนิดที่สำคัญ
          1   กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก   ( Alpha  linolenic   acid   :  ALA )
          2   กรดไขมันอีพีเอ    (  Eicosapentaenic   acid   :  EPA )
          3   กรดไขมันดีเอชเอ    (  Docosahexaenoic   acid   :  DHA )
กรดไขมันโอเมก้า 3  สามารถพบได้ในอาหารชนิดต่างๆ  เช่น    กรดไขมันแอลฟาไนโลเลนิค (ALA) ส่วนใหญ่จะได้จากอาหารที่เป็นไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่งเหลือง   น้ำมันรำข้าว    เป็นต้น    ส่วนของกรดไขมันอีพีเอ (  EPA )  และดีเอชเอ  ( DHA)   จะได้จากสัตว์   แต่เราจะพบ  ( omega  3 ) มากในปลาทะเลเขตน้ำเย็น   เช่น     ปลาซาลมอล       แม็คคาเรล   ซาร์ดีน    แฮร์ริง  เมนฮาเดน   และทูน่า   ฯลฯ  (omega  3)   สูงมากในอัตราส่วนระหว่าง  2.5-8  กรัม/เนื้อปลา 200 กรัม   และมีผลการวิจัยพบว่าปลาทะเลไทยมี  (  omega 3) เช่นกัน    เช่น   ปลาทู   ปลารัง  ปลาเก๋า  ปลาโอ   ฯลฯ     แต่หากไครที่ชอบทานปลาน้ำจืดก็ไม่ต้องน้อยใจหรือเสียใจเพราะมีผลการวิจัยว่ามี  ( omega  3 ) ในปลาน้ำจืดบางชนิด  เช่น  ปลาดุก  ปลาสลิด    ปลาสวาย   ปลาช่อน   ปลาตะเพียน  ฯลฯ  





แหล่งที่มาของกรดไขมันโอเมก้า 3





 

   คุณประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 3  

        เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3  เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย  ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ต้องรับจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป  หน้าที่หลักๆเลยของ กรดไขมันโอเมก้า 3  มีหน้าที่สร้างผนังเซลล์ของร่างกาย  ดังนั้นผนังเซลล์จะประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3    นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังนำไปสร้าง  " ไอโคซานอยด์ "  ( eicosanoide )   มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  คล้ายๆกับฮอร์โมนในร่างกาย   ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น   เช่น   ไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด  ทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัว
          กรดไขมันโอเมก้า 3  จะสร้างไอโคซานอยด์   ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด       เช่น      ลิวโคไทรอิน   ( leukotrienes )    พรอสตาแกรนดิน  ( prostaglandins )    ทรอมบอกเซน  (  thromboxanes ) และที่กล่าวมาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน

    กรดไขมันโอเมก้า 3 กับทารกและสตรีมีครรภ์     

         1.  DHA :    ( Docosahexaenoic acid  )   ในน้ำมันปลา กรดไขมันโอเมก้า 3 มีความจำเป็นต่อการพัฒนาจอตา  และพัฒนาสมองของทารก แต่ทารกจะไม่าสมารถสังเคราห์   DHA   ได้ด้วยตัวเอง ( ต้องอาศัยน้ำนมจากแม่เป็นตัวช่วย )   มีการศึกษาวิจัยพบว่า     ปริมาณกรดไขมันดีเอชเอที่เด็กได้รับมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการจอตาของเด็ก      และพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้หรือพัฒนาเซลล์สมอง     โดย   WHO    ระบุว่าทารกแรกเกิดควรได้รับ   DHA    ไม่ต่ำกว่าวันละ   40  มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม   เพราะฉนั้นมารดา หรือหญิงที่ให้นมบุตรควรจะบริโภท    DHA   อย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม     ทั้งนี้เด็กควรได้รับไขมันดีเอชเอทั้งแต่แรกคลอดจาก     "น้ำนมเหลือง "     ( colostrum)   ของมารดา   และน้ำนมแม่ซึ่งจะมีประโยชน์มาก
         2.    ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
         3.    มีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ในสมองต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมาธิสั้นในเด็กได้
         4.    สตรีที่ตั้งครรภ์ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอ อาจเกิดความดันโลหิตสูงขณะทำคลอดได้  ( Preclampsia )   และอาจมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้  ( Postpartum  depression )  
         5.    นมแม่มี  EPA  สูงกว่านมผงถึง  2.5 เท่า  และมี DHA  สูงกว่าถึง 30 เท่า ดังนั้นนมของมารดาถือว่ามีความสำคัญมากต่อทารก


     กรดไขมันโอเมก้า 3  กับวัยเด็กและวัยกำลังเรียนรู้

          1.   DHA  ในกรดไขมันโอเมก้า 3   เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาท    ซึ่งมีผลต่อสติปัญญาหากร่างกายได้รับในปริมาณน้อยหรือไม่เพียงพอ  จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทลดประสิทธิภาพในการทำงานและการเรียนรู้ไปด้วย   ผลการวิจัยของ  ดร.  จูดิธ  เวริท์แมน  แห่งสถาบัน  MIT  ผลการศึกษาพบว่าในเนื้อปลาอุดมด้วยกรดอะมิโน  ( Thyrosine )  ซึ่งสามารถกระตุ้นสารสำคัญในสมอง คือ   ( Nerephinephrine )   และ   ( Dopamine )  ทำให้สมองมีความกระฉับกระเฉงและมีสมาธิ


     กรดไขมันโอเมก้า 3  กับวัยทำงาน

        1.    คุณจะเห็นได้ว่าคนในวัยทำงานมักจะประสบกับความเครียดอยู่เป็นประจำ  นั้นเพราะสมองทำงานหนักเกินไปและได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ   หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาด DHA
        2.    เมื่อมีปริมาณ DHA ที่เหมาะสมกับร่างกาย   DHA  จะผ่านเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของประสาทของเซลล์สมองที่เรียกว่า  เดนไดรท์ ( Dendrite )  ที่มีหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองพร้อมกับการทำงานเสมอ
         

      กรดไขมันโอเมก้า 3    กับคนวัยสูงอายุ   

         1.   ในผู้สูงอายุมักจะเกิดภาวะสมองเสื่อม  หรือโรคอัลไซเมอร์  ( Alzheimer's   disease  หรือ  AD)    ที่เกิดได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ    จากผลการทดลองโดยการให้  DHA กับผู้ป่วย  พบว่าเมื่อมีการทดสอบมีความสามารถในการตัดสินใจ  และการคำนาณได้มีประสิทธิภาพกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ให้ DHA   ในระยะเวลา 6 เดือน
         2.    EPA  ลดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุทางเดินหายใจ  และลดการตอบสนองทางภูมิแพ้  และยังสามารถลดความถี่ของการเป็นหอบหืดได้
         3.    ช่วยให้อาการ เศร้า  นอนไม่หลับ    ไม่มีอารมณ์ทางเพศ  มีอาการดีขึ้นมากกว่า 50%
         4.    จากข้อมูลพบว่าชาวเอสกิโมซึ่งกินปลาทะเลมากกว่าบุคคลทั่วไป  จะป่วยเป็นโรคหัวใจน้อยมาก  ( แต่ยังไม่มีผลการวิจัยที่แน่ชัดเกี่ยวกับเรื่องนี้)




  กรดไขมันโอเมก้า 6

          คืออะไร ?  ไครรู้

          ถ้าพูดถึงกรดไขมันโอเมก้า 6 หลายคนอาจจะไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นหู  ปัจจุบัน กรดไขมันโอเมก้า 6  ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก  หลายต่อหลายบทความเกี่ยวกับเรื่องของกรดไขมันโอเมก้าก็จะเน้นไปที่ กรดไขมันโอเมก้า 3   แต่วันนี้ผู้เขียนจะพาเราไปรู้จักกับกรดไขมันโอเมก้าหกกัน  ว่าเค้าเป็นไคร  มีหน้าตายังไง และที่สำคัญเค้าทำอะไร  ???
           
            ทั้งที่จริงแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 6  มีส่วนสำคัญคือเป็นตัวถ่วงสมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายของคนเราจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ทั้งสองชนิดนี้   กรดไขมันโอเมก้า 6 คือ    กรดไขมันไลโลเลอิก
( Linoleic  acid  :  AD)  และกรดไขมันอะราคิโดนิก  ( Arachidonic  acid  :  ARA )     ร่างกายจะใช้ประโยชน์ของกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า 3     และกรดไขมันโอเมก้า 6   ที่จะสร้าง    " ไอโคซานอยด์ "  ( eicosanoide )       ทำให้เลือดไหล  ยับยั้งการอักเสบ   แต่สำหรับกลุ่มของกรดไขมันโอเมก้า 6  จะทำให้เลือดเกิดการแข็งตัว   คือพูดง่ายๆ จะทำหน้าที่ตรงข้ามและถ่วงดุลกัน

       

      แล้วเราจะหากรดไขมันโอเมก้า 6 ได้จากไหน?

          คำตอบคือ  เราจะสามารถพบกรดไขมันโอมก้า 6 จาก   ถั่งชนิดต่างๆ  และน้ำมันพืช  รวมไปถึงพบได้ในปลา ทั้งปลาน้ำเค็มและปลาน้ำจืด  ตัวอย่างที่พบในปลาน้ำเค็มและปลาน้ำจืดในไทย

          ปลาน้ำเค็ม

     1.   ปลาจะละเม็ดขาว  ไขมันทั้งหมด 6.8 กรัมเราจะพบ    กรดไขมันโอเมก้า 6  เท่ากับ 0.03 กรัม
     2.   ปลาทู   ไขมันทั้งหมด 3.0 กรัม  เราจะพบ   กรดไขมันโอเมก้า  6  เท่ากับ  0.06  กรัม

          ปลาน้ำจืด

     1.   ปลาดุกไขมันทั้งหมด 14.7   กรัมเราจะพบ  กรดไขมันโอเมก้า 6  เท่ากับ  1.94 กรัม
     2.   ปลาสวายไขมันทั้งหมด 8.9 กรัมเราจะพบ   กรดไขมันโอเมก้า  6 เท่ากับ  0.60 กรัม
     3.   ปลาตะเพียนไขมันทั้งหมด  7.4 กรัมเราจะพบ  กรดไขมันโอเมก้า 6  เท่ากับ  1.11 กรัม

(  ***เทียบจากส่วนที่กินได้  100 กรัม)

               เราจะเห็นได้ว่าทุกอย่างล้วนมีคุณค่าในตัวของมัน  อยู่ที่ว่าเราจะมองเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นหรือไม่  และ  จะเราจะใช้ของสิ่งนั้นเป็นหรืไม่    หากเราใช้เป็นก็จะเกิดผลประโยชน์กับผู้ใช้อย่างสูงสุด  และขอขอบคุณที่มา
   ดร.   ครรชิต   จุดประสงค์
   http://www.gelsquare.com
       


  


 

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของอาหารเสริม และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

       
       
         หลายคนคงเคยได้ยิน หรือรู้สึกคุ้นหูกับสองคำนี้  " อาหารเสริม"  กับ  " ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "
และหลายคนก็คงสงสัยว่าสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันยังไง ?    เรามาดูกันว่าสองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันหรือมีความหมายที่เหมือนกันอย่างไร......

อาหารเสริม

           อาหารเสริม  หมายถึง  อาหารที่แพทย์เสริมให้สำหรับเด็ก  หลังจากที่เด็กมีอายุหลัง 6 เดือนไปแล้วเพื่อให้เด็กได้หัดเคี้ยว  และรับสารอาหารอย่างอื่นนอกจากนม  โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ  เช่น  กล้วย  มะละกอสุก   องุ่น  (แกะเมล็ดออก)   สับปะรดชิ้นเล็กๆ   จะช่วยให้เด็กได้รับวิตามินซีเบื่อบำรุงเหงือก ฟัน  และกระดูก   เป็นต้น  รวมไปถึงอาหารเสริมสำหรับสตรีมีครรภ์ด้วย  เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

          ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   จัดเป็นอาหารประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร    พ.ศ.  2522   ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เรารับประทานเข้าไปนอกเหนือจากอาหารหลัก  ที่เราได้รับประทานเข้าไปเป็นปกติเพื่อเสริมสร้างบางอย่าง    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็คือ การนำสารสกัดจากธรรมชาติ  เช่น  สัตว์ทะเลน้ำลึก  แร่ธาตุ     พืชทะเลทราย     เป็นต้น    มาทำให้อยู่ในลักษณะของ  แคปซูล   ยาเม็ด  ผง  หรือของเหลว   ที่มีจุเด่นในการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง    ป้องกันโรค    และสามารถทดแทนสารอาหารที่ร่างกายบกพร่องได้





อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร