วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คุณรู้ไหมว่าวิตามินซีมีคูณประโยชน์มากแค่ไหน.....?



วิตามินซี

        

วิตามินซี (อังกฤษvitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษ: L-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษ: L-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้


คุณรู้ไหมว่าวิตามินซีมีคูณประโยชน์มากแค่ไหน.....?

วิตามินซี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัย ศตวรรษที่ 18 มีการสังเกตว่าพวกทหารเรือที่มีการรอนแรมออกเดินเรือไปในทะเลเป็นเวลานานๆ ซึ่งมักจะขาดแคลนพวกผักสดผลไม้สด จะป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิด และสุขภาพไม่ค่อยดี มีอาการอ่อนเพลีย อยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนสังเกตเห็นว่าจะไม่พบอาการดังกล่าวในทหารเรือที่รับประทานมะนาว เป็นประจำ
และเมื่อต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้น ในปี ค.ศ. 1982 ก็สามารถหาสารอาหารสำคัญ ที่เป็นต้นเหตุของโรคดังกล่าวได้ว่าสารที่พวกทหารเรือขาดไปคือกรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid)” ซึ่งมันมีฤทธิ์สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ในปัจจุบัน กรดแอสคอร์บิค ก็ถูกรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “วิตามินซี” และมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2ครั้ง และมีอายุยืนยาวมากกว่า 90 ปีแม้จะป่วยเป็นโรค มะเร็ง มายาวนานถึง 20 ปีก็ตามคือ Dr.Linus Pauling ชาวเมืองพอรต์แลนด์ ได้เคยพูดไว้ว่า เหตุที่เขาสามารถมีสุขภาพดีและสามารถชะลอการลุกลามของโรคมะเร็ง ในตัวได้นานกว่า 20 ปี ก็เนื่องจาก วิตามิน และ เกลือแร่ ที่เขารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินซี ซึ่งหลังจากที่เขารับประทานขนาดสูงทุกวัน เขาก็ไม่เคยเป็นหวัดอีกเลย Dr.Linus Pauling เริ่มรับประทาน วิตามินซี ชนิดเม็ดตั้งแต่อายุ 40 ปี และเพิ่มขนาดสูงถึง 18,000 มิลลิกรัม เมื่อรู้ว่าตนเองเป็น มะเร็ง ตั้งแต่อายุได้ 64 ปี เขายืนยันว่ามันช่วยให้ มะเร็ง ในร่างกายสงบลง 
 ที่มา  : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรามาดูกันว่าในชีวิตประจำวันเราได้รับวิตามินซีมาจากอะไรบ้าง...?????

          วิตามินซีมาจากไหน    

         วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป ซึ่งเราสามารถรับวิตามินซีจากสารอาหารที่เราทานเข้าไปได้ไม่ว่าจะเป็นผัก เช่น ผักใบเขียว   หรือผลไม้ต่างๆ   แล้วเรารูไหมว่าผลไม้ที่มีวิตามินซีเยอะที่สุดคืออะไร......?????

             คำตอบคือมะขามป้อม    มะขามป้อมได้รับการยอมรับว่าเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในโลก    ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้มะขามป้อมเป็นส่วนประกอบใช้สำหรับป้องกันและรักษาภาวะของโรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค ตับแข็ง และภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ซึ่งในผลของมะขามป้อมนั้นมีสารโปรไซยนิน ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับวิตามินซีแต่ทนความร้อนไม่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย จึงมีความคงตัวสูงซึ่งทนกว่าวิตามินซีทั่วไป



วิตามินซีพบมากในผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว แคนตาลูป มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ พริกไทย 


              แต่บางคนไม่ชอบทานผักผลไม้จึงอาจจำเป็นต้องทานวิตามินเสริม เพราะประโยชน์ของวิตามินซีมีมากมายดังต่อไปนี้

  • เป็นวิตามินที่รับประทานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มีจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น แบบเม็ด แคปซูล ลูกอม เม็ดแบบแตกตัวช้า แบบผง แบบเคี้ยว น้ำเชื่อม หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกรูปแบบ
  • วิตามินซีบริสุทธิ์ คือรูปที่แปลงมาจากน้ำตาลเดกซ์โทรสจากข้าวโพด (แม้จะไม่มีข้าวโพดหรือเดกซ์โทรสหลงเหลืออยู่เลย)
  • ความแตกต่างระหว่างวิตามินซีจากธรรมชาติ หรือแบบอินทรีย์ (ออแกนิค) และกรดแอสคอร์บิกสังเคราห์โดยทั่วไป คือความยากง่ายในการย่อยและการดูดซึม ซึ่งต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละคน
  • อาหารเสริมวิตามินซีที่ดีที่สุดคือวิตามินซีที่ประกอบไปด้วย ไบโอฟลาโวนอยด์ เฮาเพอริดิน และรูติน (บางครั้งอาจเห็นชื่อในฉลากว่า เกลือซิตรัส)
  • วิตามินซีในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูลส่วนมากจะมีขนาดตั้งแต่ 100 – 1,000 mg. ส่วนในรูปแบบผงละลายน้ำจะมีขนาดประมาณ 5,000 mg. ต่อช้อนชา
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับวิตามินซีเสริมอาหารคือ 500 – 4,000 mg.
  • อะซีโรลาซี (Acerola C) คือ วิตามินซีที่สกัดมาจากผลอะซีโรลาเบอร์รี่
  • วิตามินซีจากโรสฮิปหรือผลกุหลาบ จะมีไบโอฟลาโวนอยด์และเอนไซม์อื่นๆ ที่ช่วยให้วิตามินซีแตกตัวได้ดี ถือเป็นแหล่งของวิตามินซีตามธรรมชาติที่ดีที่สุด 
       ที่มา   http://frynn.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5/



   
( สำหรับความรู้เกี่ยวกับวิตามินซี   จะนำมาเขียนในคราวต่อไปคือ)
       -      ควรกินวิตามินซีตอนไหนให้ได้ผลมากที่สุด
       -      หากขาดวิตามินซีจะมีผลต่อร่างกายอย่างไร
       -      รับประทานวิตามินซีเกินความจำเป็นของร่างกายจะเกิดอะไร
       -      ประโยชน์ของวิตามินซี















วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เจี๊ยบๆ....แต่ไม่เจี๊ยบ



                                              กระเจี๊ยบแดง 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus   sabdariffa L. 
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปร้ียว (ภาคกลาง) ผกัเก็งเคง็ ส้มเก็งเคง็ ส้มตะเลงเครง ส้มพอดี 
วงศ์ :   Malvaceae 
ชื่อสามัญ : Rosell 
ถิ่นก าเนิด : ในเอเชียใต้ 

             สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ผักเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้(ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ 



            
              กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชที่น่าสนใจ เนื่องจากปลูกง่าย ไม่ตอ้งใช้สารเคมีการกำจัดแมลงศตัรูพืชหาก
จำเป็นต้องใชก็ใชในปริมาณเล็กน้อย หรือใช้สารชีวภาพในการบรรเทาความรุนแรงได้ แหล่งผลิตใหญ่ของ
โลก คือ จีน ไทย ซูดาน เม็กซิโก กระเจี๊ยบแดงจากไทยและซูดานมีคุณภาพดีที่สุด กระเจี๊ยบแดงจากจีน
คุณภาพค่อนข้างต่ำ ประเทศไทยผลิตกระเจี๊ยบแดงไดปีละ 250-600 ตัน ใช้ในประเทศร้อยละ 30 อีกร้อยละ 
70 ส่งออกโดยมีตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน

แล้วทำไมเราจึงต้องทานกระเจี๊ยบ......แล้วกระเจี๊ยบมีประโยชน์อย่างไรกับตัวเรา
                
          กลีบกระเจี๊ยบแดงมีสารสารคัญที่น่าสนใจ คือ มีสารสีแดงจากพวกแอนโทไซยานิน (anthocyanin) มี
กรดอินทรีย์หลายชนิด มีวิตามินเอ วิตามินซี เพคติน และแร่ธาตุอื่นๆ ไดแ้ก่ แคลเซียมในปริมาณที่สูง 
ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น  
           ในส่วนใบและยอดอ่อนก็มีวติามินเอ แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ใช้ในการประกอบอาหารโดยมีรสเปร้ียว สารสำคัญของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธ์ิช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมัน ในเลือด น้ำกระเจี๊ยบลดความเหนียวข้นของเลือด   ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี   น้ำกระเจี๊ยบมีรสเปร้ียว ดื่มแกร้้อนใน แก้กระหายน้ำได้  นอกจากน้ียังบำรุงธาตุ กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้   บำรุงโลหิต บำรุงกระดูกและฟัน แก้โรคเบาหวาน   ยอดและใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้ประกอบอาหาร กลีบกระเจี๊ยบแดงสามารถพัฒนาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เช่น น้า กระเจี๊ยบแดงพร้อมดื่ม  ไวน์   แยม   เยลลี่ สีผสมอาหาร สบู่ เครื่องสำอาง เช่น ครีมหน้าใส ครีมขัดผิว   เป็นต้น 





    คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม

    % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database
    และ http://frynn.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8A%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/    

    โทษของกระเจี๊ยบแดง
    • กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
    • น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม่ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนานๆ เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ